วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 13
วันพุธ ที่30 พฤศจิกายน 2559
..................................................

อาจารย์นัดหมายนักศึกษาบอกแนวข้อสอบ
และแจกของรางวัลสำหรับคนที่มีตัวปั๊มมากที่สุด
บันทึกครั้งที่ 12 
วันจันทร์ ที่28 พฤศจิกายน 2559
.......................................................


อาจารย์ให้นักศึกษาจัดทำรูปเล่มโครงการ

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่21 พฤศจิกายน 2559
....................................

อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการ
บันทึกครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่14 พฤศจิกายน 2559
....................................

อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการ

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่9
วันจันทร์ ที่7 พฤศจิกายน 2559


อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งตามกลุ่มที่จัดทำโครงการห้ความรู้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จากนั้นให้นักศึกษาเข้ามาพบอาจารย์ทีละกลุ่ม เพื่อที่อาจารย์จะชี้แจงและอธิบายรายละเอียดทั้งหมดที่ต้องมีในรูปเล่มของโครงการห้นักศึกษาได้เข้าใจ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สอบถามข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ

เมื่ออาจารย์ได้ให้คำแนะนำเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปจัดทำโครงการลงพื้นที่โดยตรงได้เลย ซึ่งเมือกิจกรรมเสร็จสมบูรณ์นักศึกษาก็สามารจัดทำรวบรวมรูปเล่มส่งอาจารย์ได้ทันที โครงการของกลุ่มดิฉันคือ

ชื่อโครงการ : โครงการเทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัย
วันเวลา : วันเสาร์ ที่20 พฤศจิกายน 2559
สถานที่ : ศูนย์พัฒนาเด็กชุมชนร่วมใจพัฒนา

หลักการและเหตุผล
          จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงทำให้การดำรงชีวิตของผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่เป็นไปอย่างเร่งรีบ ส่งผลให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยไม่ค่อยมีเวลาเพียงพอต่อการดูแลลูก จึงทำให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่เลือกที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเลี้ยงดูลูกมากจนเกินไป จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กปฐมวัยในปัจจุบันส่วนใหญ่ติดเครื่องมือสื่อสารมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็กปฐมวัยหลายคนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว ลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบุคคลในโลกโซเชียล  ไม่มีเหตุผล  เอาแต่ใจ  ไม่รู้จักการรอคอย ขาดสังคม ไม่มีน้ำใจ เป็นต้น   สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลเสียให้กับเด็กทั้งระยะสั้นและระยะยาว  ว่าด้วยโครงการ เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัย  จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเลี้ยงดู

สิ่งที่ได้รับ
-การจัดทำโครงการนั้นมีหลายหัวข้อหลายองค์ประกอบและหลายขั้นตอนและมีความสำคัญ
-การจัดทำโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประโยชน์ต่อผู้ปกครองมาก
-การจัดทำโครงการต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนและต้องให้ความสำคัญทุกขั้นตอน

ประเมินตนเอง
-มีความตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังอธิบายและให้คำแนะนำในการจัดทำโครงการ
-รับผิดชอบงานร่วมกันกับเพื่อนทุกคนในกลุ่มและให้ร่วมมือในการแสดงความคิด
-ตั้งใจทำงานอย่างสงบและให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนเพื่อทำให้งานออกมาสมบูรณ์

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนมีความกระตือรือร้นในการเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายงานที่มอบหมาย
-ทุกคนตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้และสามารถทำงานออกมาได้สมบูรณ์
-ทุกคนนั่งเรียนอย่างเรียบร้อยและให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนด้วยการไม่เสียงดังขณะทำงาน

ประเมินอาจารย์
-มีความเตรียมพร้อมในการสอนนักศึกษาเป็นอย่างดีเข้าสอนตรงเวลาตามที่กำนหนด
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำโครงการเพื่อฝึกวิชาชีพในศาสตร์เฉพาะของตนเอง
-ให้คำแนะนำแนวทางที่ดีกับนักศึกษาเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย


 


วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่8
วันจันทร์ ที่31 ตุลาคม 2559



• อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมากล่าวความรู้สึกจากที่ไปทำแบบสอบถาม เพื่อไปอบถามผู้ปกครองโดยการลงพื้นที่จริง ว่าแต่ละกลุ่มมีเหตุการณ์เป็นอย่างไรบ้างเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนๆทุกกลุ่ม


กลุ่มของจิรญา... ได้ใช้คนในพื้นที่ในโบสถ์ของศาสนาคริสต์ เพื่อทำแบบสอบถามให้ เขาได้เล่าว่าทุกคนที่ทำแบบสอบถามให้มีความเต็มใจ


กลุ่มของปรียา... เขาได้เล่าว่าได้ให้คนที่อยู่ในพื้นที่ตลาดที่เขาขายของ เช่นให้แม่ค้าทำแบบสอบถามให้ และแม่ค้าก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 


กลุ่มของวราภรณ์... ได้ให้คนในพื้นที่บริเวณโบสถ์คริส ซึ่งเขาเล่าว่าบางคนก็เต็มใจทำแบบสอบถามให้อย่างดี บางคนก็มีข้อสงสัยในคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย


กลุ่มของวิไลวรรณ....เขาได้ใช้คนในพื้นที่ตามหมู่บ้านที่เขารู้จักทำแบบสอบถามให้และทุกคนมีความเต็มใจนการทำแบบสอบถาม


กลุ่มของเรณุกา...เขาได้ใช้คนในพื้นที่ของโรงเรียนที่แม่เขาสอนอยู่ เช่นคุณครู หรือบุคลากรที่อยู่ในโรงเรียน 
สิ่งที่ได้รับ
-การจัดทำโครงการนั้นมีหลายหัวข้อหลายองค์ประกอบและหลายขั้นตอนและมีความสำคัญ
-การจัดทำโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประโยชน์ต่อผู้ปกครองมาก
-การจัดทำโครงการต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนและต้องให้ความสำคัญทุกขั้นตอน

ประเมินตนเอง
-มีความตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังอธิบายและให้คำแนะนำในการจัดทำโครงการ
-รับผิดชอบงานร่วมกันกับเพื่อนทุกคนในกลุ่มและให้ร่วมมือในการแสดงความคิด
-ตั้งใจทำงานอย่างสงบและให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนเพื่อทำให้งานออกมาสมบูรณ์

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนมีความกระตือรือร้นในการเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายงานที่มอบหมาย
-ทุกคนตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้และสามารถทำงานออกมาได้สมบูรณ์
-ทุกคนนั่งเรียนอย่างเรียบร้อยและให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนด้วยการไม่เสียงดังขณะทำงาน

ประเมินอาจารย์
-มีความเตรียมพร้อมในการสอนนักศึกษาเป็นอย่างดีเข้าสอนตรงเวลาตามที่กำนหนด
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำโครงการเพื่อฝึกวิชาชีพในศาสตร์เฉพาะของตนเอง
-ให้คำแนะนำแนวทางที่ดีกับนักศึกษาเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย

 




วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่7
วันจันทร์ ที่10 ตุลาคม 2559
•••••••••••••••••••••••••••••••••
• อาจารย์ให้นักศึกษาได้ศึกษาการทำโครงการเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ6-7คน แล้วรับผิดชอบทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังกล่าวร่วมกัน โดยจะจัดทำโครงการอะไรก็ที่เกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กฐมวัย สามารถตั้งชื่อได้ตามความเหมาะสม จากนั้นเมื่ออาจารย์ได้อธิบาย แนะนำวิธีการทำโครงการพอเข้าใจแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาร่างเค้าโครงของโครงการที่แต่ละกลุ่มจะจัดทำ เพื่อที่อาจารย์จะได้ตรวจสอบและแนะนำในสิ่งที่ถูกต้องก่อนที่จะนำไปจัดทำจริง จากนั้นก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอเค้าโครงร่างหน้าชั้นเรียน เมื่อนำเสนอผ่านไปแล้วก็ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปจัดทำเพื่อสรุปและประเมินผลส่งอาจารย์ในครั้งต่อไป





สิ่งที่ได้รับ
-การจัดทำโครงการนั้นมีหลายหัวข้อหลายองค์ประกอบและหลายขั้นตอนและมีความสำคัญ
-การจัดทำโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประโยชน์ต่อผู้ปกครองมาก
-การจัดทำโครงการต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนและต้องให้ความสำคัญทุกขั้นตอน

ประเมินตนเอง
-มีความตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังอธิบายและให้คำแนะนำในการจัดทำโครงการ
-รับผิดชอบงานร่วมกันกับเพื่อนทุกคนในกลุ่มและให้ร่วมมือในการแสดงความคิด
-ตั้งใจทำงานอย่างสงบและให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนเพื่อทำให้งานออกมาสมบูรณ์

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนมีความกระตือรือร้นในการเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายงานที่มอบหมาย
-ทุกคนตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้และสามารถทำงานออกมาได้สมบูรณ์
-ทุกคนนั่งเรียนอย่างเรียบร้อยและให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนด้วยการไม่เสียงดังขณะทำงาน

ประเมินอาจารย์
-มีความเตรียมพร้อมในการสอนนักศึกษาเป็นอย่างดีเข้าสอนตรงเวลาตามที่กำนหนด
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำโครงการเพื่อฝึกวิชาชีพในศาสตร์เฉพาะของตนเอง
-ให้คำแนะนำแนวทางที่ดีกับนักศึกษาเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
   •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่6
วันจันทร์ ที่3 ตุลาคม 2559
•••••••••••••••••••••••••••••••••
• อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย




• กลุ่มของดิฉัน ได้ศึกษางานวิจัยงานหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองทางเฟสบุ๊ค


งานวิจัย : เรื่อง การประยุกต์กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี
การศึกษาระดับ  : ดุษฎีบันฑิต
มหาวิทยาลัย : ธุรกิจบัณฑิตย์
ปีที่ทำวิจัย : 2558
ผู้วิจัย : จรวยพร  แดงโชติ

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
ด้านเนื้อหา ความรู้และทักษะที่สำคัญและจำเป็นในการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับผู้ปกครองด้านพัฒนาการของเด็กระดับปฐมวัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาล ครูอาวุโส โรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรี  ปีการศึกษา 2555
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูอาวุโส ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรีจำนวน 135 คน
ระยะเวลาในการศึกษาและทดลอง ปีการศึกษา 2555-2556

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ
การส่งเสริมความรู้และทักษะด้านพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองนักเรียน
ตัวแปรตาม
การประยุกต์ใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์

เครื่องมือในการวิจัย
1.กำหนดเป็นประเด็นความรู้และทักษะสำหรับผู้ปกครอง
2.จัดทำกรอบกิจกรรมตามลำดับขั้นในการใช้กระบวนการจิตติปัญญาศึกษาและบรรจุสาระตามกรอบให้ครบถ้วนโดยผสมผสานกับสาระทางเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบเฟสบุ๊ค (Facebook)
3.จัดทำกำหนดการจัดส่งข้อความรู้ทางเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบ Facebook ตามกรอบเวลาในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม 2556 เป็นการกำหนดการตั้งแต่ต้นจนจบ

การดำเนินการวิจัย
1.ประมวลสาระความรู้ความเข้าใจ
2.ศึกษาสภาพปัจจุบัน
3.ออกแบบการประยุกต์ใช้กระบวนการจิตติปัญญาศึกษาและ
    เครือข่ายสงคมออนไลน์แบบเฟสบุ๊ค (Facebook)
4.ทดลองสรุปผลและนำเสนอผลต่อที่ประชุมสนทนากลุ่ม นำผลมา
    ปรับปรุงแล้วจัดทำเป็นแนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการจิตติ
    ปัญญาศึกษาและเครือข่ายสงคมออนไลน์ฉบับสมบูรณ์

ตัวอย่างกิจกรรมที่ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
กิจกรรม : เรื่องทักษะที่ผู้ปกครองพึงมีเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย  การส่งเสริมทักษะการเล่านิทาน ให้ความรู้วันที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 15.00 น.
นิทานที่เหมาะกับความต้องการ ความสนใจของเด็ก จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการ เรียนรู้ของเด็กอย่างมาก นิทานมีประโยชน์และคุณค่าต่อเด็กมากมายดังนี้
1.ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ให้เด็กได้รับความสุข สนุกสนานเพลิดเพลิน เกิด ความรู้สึกอบอุ่นและใกล้ชิดผู้เล่ามากขึ้น
2.ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา ทักษะการคิด จินตนาการ ฝึกสมาธิในการฟัง การถ่ายทอด เรื่องราวให้ผู้อื่นฟังได้
3.ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ตลอดจนลักษณะนิสัยอันดีงามให้เกิดขึ้นกับเด็ก
4.ปลูกฝังการรักการอ่าน ซึ่งเด็กเล็กๆ จะเป็นการอ่านจากรูปภาพก่อน แล้วจึงพัฒนามาเป็นคำประโยคต่างๆ
5.ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา ความรู้ต่างๆ จะแฝงอยู่ในนิทาน ทำให้เด็กเรียนรู้โดย ไม่รู้ตัว
   สรุปการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบ Facebook จิตตปัญญา (กลุ่มหนึ่ง) โรงเรียนอนุบาลดวงใจ
วันที่ 27 กันยายน 2556
เรื่องย่อยตอนที่ 3การส่งเสริมทักษะการเล่านิทาน  เวลาส่ง15.00 น.
   มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกด LIKE จำนวน 15 คน แสดงความคิดเห็น 4 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงความคดเห็นโดยรวมสรุปได้ดังนี้
   เล่านิทานให้ลูกฟังแต่ลูกไม่ยอมฟัง ในครึ่งแรกต้องให้ลูกเป็นคนเลือกนิทานเองว่าชอบเรื่องไหน และต่อให้เด็กพร้อม ที่จะฟัง พาเขาร้านหนังสือ พูดคุยว่าหนังสือมีรูปสวยงาม มีตัวสัตว์น่าสนใจมาก แรกๆ ลูกอาจสนใจ เพียงเล็กน้อย ต่อๆ ไปลูกน่าจะเริ่มสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะควรหาหนังสือที่มีรูปภาพสีสันสวยงาม

สรุป
จากผลการวิจัยพบว่า การใช้กระบวนการจิตตะปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะ สำหรับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดนนทบุรีนั้น กระบวนการจิตตะปัญญา ช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งสามารถพัฒนาตนเองจาก ภายในภายนอก เกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจน จากการใช้เวลาใคร่ครวญตามความเป็นจริง ซึ่งเป็น กระบวนการที่สามารถนำมาให้ความรู้กับผู้ปกครองได้อย่างยิ่ง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญและนำกระบวนการจิตตะปัญญาศึกษา ไปใช้ในการให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ ให้กับนักเรียน ครูและผู้ปกครองนักเรียนระดับปฐมวัยและระดับ อนุบาล ๆ ต่อไป

สิ่งที่ได้รับ
-การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีหลายรูปแบบและแต่ละรูปแบบทำให้ผู้ปกครองได้รับความรู้แตกต่างกัน
-การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองทำให้ผู้ปกครองมีแนวทางในการพัฒนาตนเองและส่งเสริมทักษะที่ดีให้เด็ก
-การศึกษางานวิจัยนี้ทำให้ทราบผลการวิจัยและสามารถยืดหยุ่นวิธีให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้หลากหลาย

ประเมินตนเอง
-มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและตั้งใจนำเสนองานให้ออกมาดีที่สุด
-ให้ความร่วมมือในการถามหรือตอบ เวลาที่มีเพื่อนตั้งข้อสงสัยพร้อมให้คำตอบได้อย่างชัดเจน
-แต่งกายเรียบร้อยตามความเหมาะสมและตั้งใจฟังเพื่อให้เกียรติเพื่อนตอนนำเสนองาน 

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์ให้ความร่วมมือ ให้คำแนะนำกับนักศึกษาในการค้นคว้างานวิจัยอย่างเต็มที่
-อาจารย์เปิดโอเกาสให้นักศึกษาที่มีข้อสงสัยได้ถามเพื่อนำไปสู่การเข้าใจอย่างแท้จริง
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักศึกษาและเข้าสอนตรงตามเวลา 
                      ••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่5
วันจันทร์ ที่19 กันยายน 2559
••••••••••••••••••••••••••••••••••

>เข้าสู่บทเรียน
 • บทที่5รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ข่าวสารประจำสัปดาห์
- รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
- พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
- กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็ก
- เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง 

 จดหมายข่าวและกิจกรรม
- ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
- ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ

ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
- เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ

การสนทนา
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน


• รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
ห้องสมุดผู้ปกครอง
เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ   

ป้ายนิเทศ
- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
- ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
- ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
- ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
- ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
- กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
- ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น

นิทรรศการ
- นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
- นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
- นิทรรศการเพื่อความบันเทิง

มุมผู้ปกครอง
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
- เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
- เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ

การประชุม
- เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
- แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
- ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
- สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
- พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ

จุลสาร
- เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ               
- จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
- ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม
- ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
- ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง

คู่มือผู้ปกครอง
- ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
- หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
- บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
- อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
- การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
- กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
- การวัดและประเมินผล

ระบบอินเทอร์เน็ต
- ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา
- เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
- สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก      
- กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและเด็ก
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล
- คำถามของผู้ปกครอง


สิ่งที่ได้รับ
-รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองจะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
-การร่วมมือจากผู้ปกครองทำให้สถานศึกษาเกิดแนวคิดใหม่ๆและพัฒนาเด็กได้ดี
-การจัดรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองทำให้ผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเอง

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายพร้อมจดประเด็นสำคัญในเนื้อหาของบทเรียน
-นั่งเรียนอย่างสงบเรียบร้อยและให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนด้วยการตั้งใจฟัง
-มีความรับผิดชอบกับงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำในคาบเรียน

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนตั้งใจเรียนและไม่เสียงดัง นั่งเรียนอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
-ทุกคนแต่งกายเรียบร้อยและเข้าเรียนตรงเวลาที่กำหนด
-ทุกคนตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างตั้งใจและเสร็จทันเวลา

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์บรรยายเนื้อหาในบทเรียนดีมากและเข้าใจง่าย
-อาจารย์มีเนื้อเสียงที่ดีและบรรยายระดับเสียงที่เสมอกันทำให้นักศึกษาเคลิ้มหลับ
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยมากในทุกคาบเรียนซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา

คำถามท้ายบท
1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ข่าวสารประจำสัปดาห์ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
- รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
- พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
- กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
- เรื่องน่ารู้สำหรับ
 - ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง 
______________________________________________________________________
2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 1.ห้องสมุดผู้ปกครอง
เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
2.ป้ายนิเทศ
- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
- ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
3.นิทรรศการ
- นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
- นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
- นิทรรศการเพื่อความบันเทิง
4.มุมผู้ปกครอง
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
5.การประชุม
- เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
6.จุลสาร
- เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ              
- จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
7.คู่มือผู้ปกครอง
- ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
- หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
8.ระบบอินเทอร์เน็ต
- ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา
- เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
_______________________________________________________________________
3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย  
ตอบ ทำแผ่นพับเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารผู้ปกครองเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่ต้องมีต่อเด็ก และใส่ข้อมูลการทำงานของเด็กลงไปด้วย สำหรับผู้ปกครองที่ไม่เข้าร่วมอย่างน้อยก็ได้ส่งสารนี้ไปยังผู้ปกครองที่อยู่บ้าน
_______________________________________________________________________
4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี 
_______________________________________________________________________
5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ การคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด
_______________________________________________________________________
 ••••••     ••••••     ••••••     ••••••     ••••••     ••••••     ••••••